วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทความเกี่่ยวกับวิทยาศาสตร์ ( ไฟลัม มอลลัสกา )


ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)

           Mollusca มาจากภาษาละติน (molluscus = soft) แปลว่า นิ่ม หมายถึงลำตัวนิ่ม จึงเรียกสัตว์ลำตัวนิ่ม ซึ่งมักจะมีเปลือก (shell) หุ้มอีกชั้นหนึ่ง เป็นสารพวกแคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) หรือบางชนิดเปลือกก็ลดรูปไปเป็นโครงร่างที่อยู่ภายในร่างกาย สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา เรียกโดยทั่วไปว่า มอลลัสก์ (mollusk) ที่รู้จักกันดีได้แก่หอยกาบคู่ (clams) หอยกาบเดี่ยว (snail) หอยงาช้าง (tusk shell) หมึกต่าง ๆ เช่น หมึกกล้วย (squid) หมึกสายหรือหมึกยักษ์ (octopus) และลิ่นทะเล (chiton) หรือเรียกว่าหอยแปดเกล็ด ซึ่งปัจจุบันพบสัตว์ในไฟลัมนี้มากกว่า 150,000 สปีชีส์ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม และมีบางส่วนอยู่ในน้ำจืด และบนบก
ลักษณะสำคัญ
1. มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry)
2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ช่องตัวเป็นแบบแท้จริง (Eucoelomate animal)
3. ลำตัวอ่อนนุ่มไม่มีปล้องโดยทั่วไปแล้วมีแมนเทิล (mantle) ทำหน้าที่ในการสร้างเปลือกซึ่งเป็นสารจำพวกหินปูน (CaCO3)  แต่บางชนิดอาจไม่มีเปลือกเช่น พวกทากทะเล
4. ระบบทางเดินอาหารเป็นแบบสมบูรณ์มีปากและมีทวารหนัก แต่ทางเดิน อาหารมักจะขดเป็นรูปตัว (U) ในช่องปากมักมีแรดูลา (Radula) ซึ่งเป็นสารจำพวกไคติน (Chitin) ช่วยในการขูดและกินอาหาร (ยกเว้นพวกหอย 2ฝา ไม่มีแรดูลา) นอกจากนี้ยังมีน้ำย่อยที่สร้างจาก ตับและต่อมน้ำลายช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย
5. ระบบหายใจ พวกที่อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก ส่วนพวกที่อยู่บนบกหายใจด้วยปอด ซึ่ง เปลี่ยนแปลงมาจากช่องของแมนเติลหรืออาจใช้แมนเทิลและผิวลำตัวในการแลกเปลี่ยนก๊าซเพื่อการหายใจ
6. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบเปิด (Open circulatory system) ซึ่งหมายถึงเลือดไม่ได้อยู่ภายในเส้นเลือดตลอดเวลา แต่มีบางระยะเลือดไหลเข้าสู่ช่องว่างในลำตัวแล้วจึงไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีก หัวใจของพวกมอลลักมี 2-3 ห้องทำหน้าที่รับส่งเลือดในน้ำเลือดมีสารฮีโมไซยานิน (hemocyanin) ซึ่งมีธาตุทองแดง (Cu) เป็นองค์ประกอบอยู่หรือฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบอยู่ช่วยในการลำเลียงออกซิเจน
7. ระบบขับถ่าย ประกอบด้วยไต หรือเมตรเนพฟริเดีย 1 คู่ ซึ่งเชื่อมต่อกับช่องลำตัว ท่อของไตจะมีหลายแบบและทำหน้าที่ ในการปล่อยสเปอร์มและไข่
8. ระบบประสาทโดยทั่วไปประกอบด้วยปมประสาท 3 คู่ คือ ปมประสาทที่หัว (cerebral ganglion) ควบคุมการทำงานของ อวัยวะที่ส่วนหัว ปมประสาทที่เท้า (pedal ganglion) ควบคุมอวัยวะที่ เท้า (foot) และการหดตัวของกล้ามเนื้อซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่ ปมประสาทที่อวัยวะภายใน (Visceral ganglion) ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆปมประสาททั้ง 3 ส่วนจะทำงานประสานกัน โดยมีเส้นประสาทเชื่อมโยงจากปมประสาทที่หัวไปยังปมประสาทที่เท้าและอวัยวะภายในด้วย
9. ระบบสืบพันธุ์ โดยทั่วไปแล้วเป็นสัตว์แยกเพศ ตัวผู้และตัวเมียแยกกันมีบางชนิด เช่น หอยทากเปลี่ยนเพศได้ (protandichermaphrodite) การปฏิสนธิมีทั้งภายนอกและภายใน ร่างกาย โดยทั่วไปแล้วออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นตัว
10. ร่างกายของมอลลัสก์อ่อนนุ่มไม่แบ่งป็นปล้อง ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ
10.1 ส่วนหัว (head) บางชนิด เช่น หอยฝาเดียว หมึก ส่วนหัวเจริญดีมาก มีตาและหนวดช่วยในการรับสัมผัส แต่พวกหอยสองฝาส่วนหัวจะไม่ค่อยเจริญ
10.2 ส่วนเท้า (foot) เป็นกล้ามเนื้อช่วยให้หอยเคลื่อนที่อยู่ด้านท้อง (ventral)
10.3 อวัยวะภายใน (visceral mass) เป็นส่วนบริเวณอวัยวะภายในที่อยู่บริเวณกลางๆ ลำตัวและภายในส่วนของเท้า
10.4 แมนเทิล (mantle) เป็นเยื่อบางๆ ที่ปกคลุมลำตัวและติดต่อกับพื้นด้านในของกาบหรือเปลือก แมนเทิลช่วยในการสร้างกาบและเปลือกหอย
 ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  http://bio_up62.krubpom.com/4.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น