วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์( ไฟลัมพอริเฟอรา )


ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera)     
             Porifera มาจากภาษาละติน (porudus + ferre = pore + bearing) หมายถึง สัตว์ที่มีรูพรุน สัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ ฟองน้ำ (sponge) มีช่องว่างภายในลำตัว (spongocoel) น้ำจะผ่านเข้าทางรูพรุน (ostium) ซึ่งมีอยู่ทั่วตัวสู่ช่องว่างภายในลำตัว และผ่านออกจากตัวทางช่องน้ำไหลออก (osculum) โดยฟองน้ำส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน้ำเค็มพบประมาณ 10, 000 สปีชีส์ บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืดพบประมาณ 50 สปีชีส์
โครงสร้าง
- มีหลายเซลล์ มีเนื้อเยื่อ แต่ยังไม่มีอวัยวะ
- มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น
1. ชั้นของเซลล์ผิว มีเซลล์ด้านข้างลักษณะเป็นรูเรียกว่า พอโรไซต์ (Porocyte )
2.ชั้นของเซลล์โคเเอโนไซต์ บุโพรงลำตัว มีสารเเทรกกลางมีเซลล์อะมีโบไซต์ล่องลอยอยู่
- ระหว่างเนื้อเยื่อแทรกด้วยของเหลวคล้ายวุ้น เรียกว่า mesoglea หรือ mesenchyma ซึ่งมี  amoebocyte  ทำหน้าที่ ดังนี้
1.จับอาหาร
2.สร้างขวาก
3.เปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์สืบพันธุ์
4. มีรงควัตถุทำให้ฟองน้ำมีสีต่างๆ
- ผนังด้านในมี collar cell (เซลล์ปลอกคอ) ที่มีแฟลกเจลลัมคอยพัดโบกอาหารและจับอาหารกินได้
- ภายในเป็นโพรง เป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำเล็กๆ
- ลำตัวมีรูพรุนเป็นทางให้น้ำไหลเข้า ตอนบนมีโพรงน้ำไหลออก เรียกว่า osculum

โครงร่างประกอบด้วย
1. ขวาก  
2.หินปูน
3.ซิลิกา
4.เส้นใยโปรตีน (spongin)
สมมาตร
1.asymmetry
2.radial
ทางเดินอาหาร
-ไม่มี เป็นเพียง channel net work
-การย่อยอาหารจะย่อยภายในเซลล์ โดย collar cell กับ amoebocyte
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  http://bioanimalia.net63.net/porifera.html


บทความเกี่่ยวกับวิทยาศาสตร์ ( ไฟลัม มอลลัสกา )


ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)

           Mollusca มาจากภาษาละติน (molluscus = soft) แปลว่า นิ่ม หมายถึงลำตัวนิ่ม จึงเรียกสัตว์ลำตัวนิ่ม ซึ่งมักจะมีเปลือก (shell) หุ้มอีกชั้นหนึ่ง เป็นสารพวกแคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) หรือบางชนิดเปลือกก็ลดรูปไปเป็นโครงร่างที่อยู่ภายในร่างกาย สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา เรียกโดยทั่วไปว่า มอลลัสก์ (mollusk) ที่รู้จักกันดีได้แก่หอยกาบคู่ (clams) หอยกาบเดี่ยว (snail) หอยงาช้าง (tusk shell) หมึกต่าง ๆ เช่น หมึกกล้วย (squid) หมึกสายหรือหมึกยักษ์ (octopus) และลิ่นทะเล (chiton) หรือเรียกว่าหอยแปดเกล็ด ซึ่งปัจจุบันพบสัตว์ในไฟลัมนี้มากกว่า 150,000 สปีชีส์ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม และมีบางส่วนอยู่ในน้ำจืด และบนบก
ลักษณะสำคัญ
1. มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry)
2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ช่องตัวเป็นแบบแท้จริง (Eucoelomate animal)
3. ลำตัวอ่อนนุ่มไม่มีปล้องโดยทั่วไปแล้วมีแมนเทิล (mantle) ทำหน้าที่ในการสร้างเปลือกซึ่งเป็นสารจำพวกหินปูน (CaCO3)  แต่บางชนิดอาจไม่มีเปลือกเช่น พวกทากทะเล
4. ระบบทางเดินอาหารเป็นแบบสมบูรณ์มีปากและมีทวารหนัก แต่ทางเดิน อาหารมักจะขดเป็นรูปตัว (U) ในช่องปากมักมีแรดูลา (Radula) ซึ่งเป็นสารจำพวกไคติน (Chitin) ช่วยในการขูดและกินอาหาร (ยกเว้นพวกหอย 2ฝา ไม่มีแรดูลา) นอกจากนี้ยังมีน้ำย่อยที่สร้างจาก ตับและต่อมน้ำลายช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย
5. ระบบหายใจ พวกที่อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก ส่วนพวกที่อยู่บนบกหายใจด้วยปอด ซึ่ง เปลี่ยนแปลงมาจากช่องของแมนเติลหรืออาจใช้แมนเทิลและผิวลำตัวในการแลกเปลี่ยนก๊าซเพื่อการหายใจ
6. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบเปิด (Open circulatory system) ซึ่งหมายถึงเลือดไม่ได้อยู่ภายในเส้นเลือดตลอดเวลา แต่มีบางระยะเลือดไหลเข้าสู่ช่องว่างในลำตัวแล้วจึงไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีก หัวใจของพวกมอลลักมี 2-3 ห้องทำหน้าที่รับส่งเลือดในน้ำเลือดมีสารฮีโมไซยานิน (hemocyanin) ซึ่งมีธาตุทองแดง (Cu) เป็นองค์ประกอบอยู่หรือฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบอยู่ช่วยในการลำเลียงออกซิเจน
7. ระบบขับถ่าย ประกอบด้วยไต หรือเมตรเนพฟริเดีย 1 คู่ ซึ่งเชื่อมต่อกับช่องลำตัว ท่อของไตจะมีหลายแบบและทำหน้าที่ ในการปล่อยสเปอร์มและไข่
8. ระบบประสาทโดยทั่วไปประกอบด้วยปมประสาท 3 คู่ คือ ปมประสาทที่หัว (cerebral ganglion) ควบคุมการทำงานของ อวัยวะที่ส่วนหัว ปมประสาทที่เท้า (pedal ganglion) ควบคุมอวัยวะที่ เท้า (foot) และการหดตัวของกล้ามเนื้อซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่ ปมประสาทที่อวัยวะภายใน (Visceral ganglion) ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆปมประสาททั้ง 3 ส่วนจะทำงานประสานกัน โดยมีเส้นประสาทเชื่อมโยงจากปมประสาทที่หัวไปยังปมประสาทที่เท้าและอวัยวะภายในด้วย
9. ระบบสืบพันธุ์ โดยทั่วไปแล้วเป็นสัตว์แยกเพศ ตัวผู้และตัวเมียแยกกันมีบางชนิด เช่น หอยทากเปลี่ยนเพศได้ (protandichermaphrodite) การปฏิสนธิมีทั้งภายนอกและภายใน ร่างกาย โดยทั่วไปแล้วออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นตัว
10. ร่างกายของมอลลัสก์อ่อนนุ่มไม่แบ่งป็นปล้อง ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ
10.1 ส่วนหัว (head) บางชนิด เช่น หอยฝาเดียว หมึก ส่วนหัวเจริญดีมาก มีตาและหนวดช่วยในการรับสัมผัส แต่พวกหอยสองฝาส่วนหัวจะไม่ค่อยเจริญ
10.2 ส่วนเท้า (foot) เป็นกล้ามเนื้อช่วยให้หอยเคลื่อนที่อยู่ด้านท้อง (ventral)
10.3 อวัยวะภายใน (visceral mass) เป็นส่วนบริเวณอวัยวะภายในที่อยู่บริเวณกลางๆ ลำตัวและภายในส่วนของเท้า
10.4 แมนเทิล (mantle) เป็นเยื่อบางๆ ที่ปกคลุมลำตัวและติดต่อกับพื้นด้านในของกาบหรือเปลือก แมนเทิลช่วยในการสร้างกาบและเปลือกหอย
 ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  http://bio_up62.krubpom.com/4.htm

บทความเกี่ยวกับวิทยาสาสตร์ ( ไฟลัมอาร์โทไพรดา )

 

ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda)
ได้แก่  แมลงต่างๆ  มด  กุ้ง  ปู  ไรน้ำ  เพรียงหิน  แมงมุม  แมงป่อง  เห็บ  แมงดาทะเล  ตะขาบ  กิ้งกือ
ลักษณะสำคัญ คือ
1. มีสมมาตรแบบผ่าซีก
2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น และมีช่องตัวแบบแท้งจริง
3. ลำตัวมีลักษณะเป็นปล้อง และแบ่งออกเป็นส่วนๆโดยทั่วไปแล้วมี 3 ส่วน คือ ส่วนหัว(Head) ส่วนอก( Thorax) และส่วนท้อง(Abdomen) เช่นพวกแมลง แต่บางชนิดส่วนหัวและส่วนอกจะรวมกันเป็นส่วนเดียวแยกออกจากกันไม่ได้เรียกว่า เซฟาโลทอแรกซ์ (Cephalothorax) เช่น กุ้ง ปู นอกจากนี้ในพวกกิ้งกือและ ตะขาบส่วนของอกและท้องจะมีลักษณะเหมือนกัน
4. มีรยางค์ยื่นออกจากลำตัวเป็นคู่ๆ เช่น ขาเดิน ขาว่ายน้ำ อวัยวะส่วนปาก หนวด ปีก และรยางค์เหล่านี้มักมีลักษณะต่อกันเป็นข้อๆด้วย
5. มีโครงร่างภายนอก (Exoskeleton) เป็นสารจำพวกไคทิน(Chitin) แข็งหุ้มรอบตัว ดังนั้นในขณะที่มีการเจริญเติบโต สัตว์ในไฟลัมนี้หลายชนิดจึงต้องมีการลอกคราบ (Molting) เพื่อเอาเปลือกเก่าซึ่งมีขนาดเล็กออกเล็กแล้วสร้างเปลือกใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าขึ้นมาแทน
6. ทางเดินอาหารเป็นแบบสมบูรณ์ มีปากและทวารหนัก สำหรับส่วนปากมีอวัยวะที่ช่วยในการกินอาหารและมีการดัดแปลงไปเพื่อให้เหมาะสมกับ สภาพของอาหาร เช่นมีปากแบบกัดกิน ดูดกิน เจาะดูด เป็นต้น
7. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบเปิด (Open circutory sysytem) โดยเลือดเมื่อออกจากหัวใจเทียม (Pseudoheart) แล้วจะไหลไปตามเส้นเลือด ต่อจากนั้นจะไหลเข้าสู่ช่องว่างในลำตัว (Hemocoel) แล้วไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีก จะเห็นได้ว่าเลือดไม่ได้อยู่ภายในหัวใจและเส้นเลือดตลอดเวลา แต่มีบางระยะที่เลืออดไหลออกมาอยู่นอกเส้นเลือด จึงเรียกระบบการหมุนเวียนแบบนี้ว่า ระบบเปิด นอกจากนี้ สัตว์กลุ่มนี้อามีเลือดเป็นสีฟ้าอ่อนหรือไม่มีสีเนื่องจากสาร เฮโมไซยานิน (Hemocyanin) เป็นองค์ประกอบหรือมีสีแดงเนื่องจากเฮโมโกลบิน (Hemoglobin) เป็นองค์ประกอบ
8. มีระบบขับถ่ายเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่ม เช่น แมลงมี มัลพีเกียน ทูบูล (Malpighain tuble) ซึ่งเป็นท่ออยู่ที่ทางเดินอาหารเป็นอวัยวะขับถ่าย กุ้งมีกรีนแกลนด์ หรือต่อมเขียว (Green gland) ที่โคนหนวดทำหน้าที่ขับถ่าย
9. ระบบหายใจประกอบด้วยอวัยวะหาบใจหลายชนิดในพวกที่อยู่ในน้ำเช่น พวกกุ้ง ปู หายใจด้วยเหงือก(Gill) พวกแมลงหายใจได้ด้วยระบบท่อลม(Tracheal system)ที่แทรกอยู่ทั้งตัว แมงมุมหายใจด้วยบุคลัง (Book lung) ที่บริเวณส่วนท้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆซ้อนกันอยู่หลายชั้นเป็นต้น
10. ระบบประสาทมีปมประสาทที่หัว 1 คู่ และมีเส้นประสาททางด้านท้อง (Ventral nerver cord) ทอดไปตามความยาวของลำตัว 1 คู่และมีอวัยวะสัมผัสเจริญดี เช่น ตาเดี่ยว ตาประกอบ หนวด ขาสัมผัสเป็นต้น
11. ระบบสืบพันธุ์เป็นสัตว์แยกเพศ มักมีการปฏิสนธิภายในตัว และออกลูกเป็นไข่ที่มีไข่แดงมาก ในขณะที่มีการเจิญเติบโตมักมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปด้วย
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  http://www.gotoknow.org/posts/244989

บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ( ไฟลัมไนดาเรีย )

   

ไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidaria) หรือ ไฟลัมซีเลนเทอเรต(PhylumCoelenterata)
        เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เห็นได้ง่ายที่สุดในแนวปะการัง สมาชิกส่วนใหญ่ของสัตว์ในกลุ่มนี้อยู่ในทะเล มีบางขนิดที่แตกเผ่าแยกพันธุ์ออกไปดำรงชีวิตในน้ำจืด แต่ไม่มีแม้แต่ชนิดเดียวที่อาศัยอยู่บนบก สัตว์กลุ่มนี้มีรูปร่างภายนอกไม่เหมือนสัตว์ในความเข้าใจของคนทั่วไป การดำรงชีวิตมีหลายรูปแบบ วงจรชีวิตมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ทุกชนิดมีเข็มพิษ (Nematocyst) เพื่อจับอาหารและเพื่อป้องกันตัว บางชนิดไม่สามารถอยู่ได้เพียงลำพัง จำเป็นต้องมีการอยู่ร่วมกันเป็น colony    ไฟลัมไนดาเรีย (PHYLUM CNIDARIA)
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  http://www.thaigoodview.com/node/114745

บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ( ไฟลัมคอร์ดาตา )

ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)
สัตว์ในไฟลัมนี้เป็นสัตว์ที่มีพัฒนาการทางด้านรูปร่างและระบบอวัยวะมากที่สุดในอาณาจักรสัตว์จึงมีรูปร่างแตกต่างกันหลายแบบ มีระบบสรีระแตกต่างกันไปตามสภาพที่อยู่อาศัยและการดำรงชีวิตโดยทั่วไปสัตว์ในไฟลัมนี้จะมีขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ทั่วไปทั้งในน้ำจืด ทะเล และบนบก ถึงแม้ว่าจะมีรูปร่างโครงสร้างของระบบอวัยวะต่างกันมากมาย แต่ก็มีลักษณะเฉพาะ
1. มีแท่งโนโตคอร์ดอยู่ทางด้านหลังของร่างกาย จะมีอยู่เฉพาะระยะตัวอ่อนหรือมีตลอดชีวิตก็ได้
2. มีเส้นประสาทเป็นแท่งกลวงอยู่ด้านหลัง
3. มีหางอยู่ด้านซ้ายของทวารหนัก
4. มีช่องเหงือกที่ผนังฟาริงซ์ ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต
5. มีหัวใจอยู่ทางด้านท้อง มีเส้นเลือดด้านหลังและด้านท้อง ระบบหมุนเวียนเลือดเป็นแบบปิด
6. ท่อทางเดินอาหารเป็นแบบสมบูรณ์
7. มีโครงร่างค้ำจุนร่างกายอยู่ภายในตัว อาจเป็นกระดูกแข็งหรือกระดูกอ่อนก็ได้

ไฟลัมนี้แบ่งได้ดังนี้
- กลุ่มที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เรียกว่า โปรโตคอร์เดตหรือพวกที่ไม่มีกระโหลกหุ้มศรีษะ
- กลุ่มที่มีกระดูกสันหลัง เรียกว่า เวอร์ทิเบตหรือพวกที่มีกระโหลกหุ้มศรีษะ  
กลุ่มโปรโตคอร์เดต (Group Protochordate)
- Subphylum Urochordata ตัวอย่างเช่น เพรียงหัวหอม
- Subphylum Cephalochordata ตัวอย่างเช่น แอมฟิออกซัส
  กลุ่มเวอร์ทิเบต (Group vertebrate)
1. คลาสแอคนาธา (Class Agnatha) เป็นพวกปลาไม่มีขากรรไกร ตัวอย่างเช่น ปลาปากกลม
2. คลาสคอนดริคไธอิส (Class Chondrichthyes) เป็นปลาที่มีกระดูกอ่อน เห็นช่องเหงือกชัดเจน
ตัวอย่างเช่น ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาฉนาก ปลาโรนัน ปลากระต่าย
3. คลาสออสตริคไธอิส (Class osteichthyes) เป็นปลากระดูกแข็ง ช่องเหงือกมองไม่เห็นมีแผ่นแก้ม ปิดเหงือก ตัวอย่างเช่น ปลากระดูกแข็ง
4. คลาสแอมฟิเบีย (Class Amphibia)เป็นพวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำตัวอย่างเช่น ซาลามานเดอร์ กบ คางคก เป็นต้น
5. คลาสเรพทีเรีย (Class Reptilia) เป็นพวกสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์บกที่แท้จริง ออกลูกเป็นไข่ ตัวอย่าง เช่น งู ตุ๊กแก เป็นต้น
6. คลาสเอวีส (Class Aves) มีขน มีปีก ปากไม่มีฟันต้องใช้กึ่นในการบดอาหาร ปอดมีถุงลม ตัวอย่างเช่น นกทุกชนิด
7. คลาสแมมมาเรีย (Class Mammalia) เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์เลือดอุ่น ตัวอย่างเช่น ตัวเม่น นิ่ม นิ่มเกล็ด นางอาย ช้าง เป็นต้น
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่   http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-4841.html